โรงเรียนบ้านดอน (ศรีเสริมกสิกร) คืออะไร

ประวัติโรงเรียน

            เมื่อ พ.ศ. 2445 เจ้าอาวาสวัดหัวเวียงใต้ ชื่อพระภิกษุวุฒิสอนได้สร้างอาคารเล็ก ๆ ขึ้นที่ถนนสุมนเทวราช ด้านล่างติดสะพานดินด้านใต้ ซึ่งอยู่หน้าวัดหัวเวียงใต้ในปัจจุบันนี้  แล้วตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่า “วุฒิสอนวิทยา”  อยู่ในอุปถัมภ์ของเจ้าอาวาสองค์นี้ตลอดมา  พระครูธรรมรักษ์ญาณโพธิ์ เป็นครูใหญ่ได้รับนิตยภัตเดือนละ 30 บาท สามเณรบุญศรี  ชัยวุฒิเป็นครูรอง  ได้รับนิตยภัตเดือนละเท่าไหร่ไม่ปรากฏ  นักเรียนมีแต่เพศชายมีทั้งภิกษุสามเณรประมาณ 50 คน

            ต่อมาประมาณพ.ศ. 2455  ไม่มีครูและผู้อุปถัมภ์โรงเรียนก็ชำรุดทรุดโทรมเจ้าอาวาสองค์ใหม่ชื่อพระกรรณิการ์กับกำนันชื่อขุนวิสุทธิธาดา ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนใหม่โดยย้ายไปทางทิศด้านเหนือข้างสะพานดินติดถนนสุมนเทวราชหน้าวัดเดิม  แล้วตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “กรรณิการ์วิสุทธิ์” สามเณรสังวาลคุณสิทธิ์เป็นครูใหญ่ได้รับเงินเดือนจากศึกษาพลีเดือนละ 3 - 4 บาท

            ต่อมาพ.ศ. 2464 รัฐบาลได้ประกาศ พรบ.ประถมศึกษา บังคับทั้งเด็กชายและเด็กหญิงเข้าเรียน  อาคารเรียนจึงคับแคบสถานที่ไม่กว้างขวางจึงย้ายเลื่อนลงมาทางด้านตะวันออก  ตั้งอาคารเรียนติดถนนข้าหลวง หน้าโรงเรียนกสิกรรมคือที่ตั้งโรงเรียนบ้านดอนศรีเสริมกสิกรในปัจจุบันนี้และได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “วิสุทธิ์ประสิทธิ์ศิลป์”

            ต่อมาโรงเรียนวิสุทธิ์ประสิทธิ์ศิลป์ชำรุดจึงย้ายไปรวมกับโรงเรียนกสิกรรมบริเวณโรงเรียนบ้านดอนศรีเสริมกสิกรในปัจจุบันนี้  

            ต่อมาโรงเรียนกสิกรรมยุบเลิก พระยากรุงศรีสวัสดิ์การ ผู้เป็นเจ้าเมืองได้ตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่าศรีเสริมกสิกรจนถึงพ.ศ. 2495 กระทรวงศึกษาธิการได้วางระเบียบว่าด้วยการเรียกชื่อโรงเรียนประชาบาลและเทศบาลขึ้น  โดยที่โรงเรียนนี้ตั้งอยู่หมู่บ้านดอนจึงเรียกชื่อโรงเรียนนี้ว่า “โรงเรียนบ้านดอน(ศรีเสริมกสิกร)”  จนถึงปัจจุบันนี้

อ้างอิง

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

หมวดหมู่